วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558


Smart home หรือบ้านอัจฉริยะ คือการใช้เทคโนโลยีมาควบคุมอุปกรณ์ต่างๆภายในบ้าน เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้อยู่อาศัย ,  มีระบบการจัดการพลังงาน ระบบรักษาความปลอดภัยอัตโนมัติทั้งภายในและรอบตัวบ้าน  ส่วนใหญ่จะควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปเรียกว่า home automation ซึ่งสามารถถูกจำแนกความสามารถและความซับซ้อนในการควบคุมออกเป็น
1.       ระบบควบคุมไฟฟ้าแสงสว่าง เช่น เปิด/ปิด หรือปรับระดับความสว่าง
2.       ระบบควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้าภายในบ้าน เช่น สั่งงานเครื่องปรับอากาศ หรือการเปิดปิดม่าน
3.       ระบบความบันเทิงภายในบ้าน เช่น สั่ง Internet radio ให้ทำงานในห้องที่ ผู้ใช้อยู่ และปิดเมื่อผู้ใช้ออกจากห้อง
4.       ระบบบริหารพลังงาน และพลังงานสำรอง เช่น การปิด/เปิด เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆโดยขึ้นกับสิ่งแวดล้อม
5.       ระบบสื่อสาร เช่น รับ/ส่ง ข้อความหรือคำสั่งระหว่างผู้ใช้
6.       ระบบรักษาความปลอดภัย เช่น เชื่อมต่อระบบกันขโมย/กล้อง กับ บ.รักษาความปลอดภัย
jo02
ระดับของความซับซ้อนนี้ ขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้อยู่อาศัยว่าจะเลือกให้อัตโนมัติขนาดไหน และจะให้มีอะไรอัจฉริยะบ้าง บางคนอาจจะต้องการเพียงแค่ สามารถสั่งเปิดปิด อุปกรณ์ต่างๆจาก Tablet เช่น iPad หรือจากมือถือ หรือให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน โคมไฟ แอร์ ทีวี  เปิดปิดเองอัตโนมัติจากการวัดด้วย sensor หรือประมวลผลชุดคำสั่งจาก user profile ว่าผู้ใช้น่าจะต้องการให้ระบบควบคุมปฏิบัติเช่นไร

อุปกรณ์ที่ใช้ในระบบ home automation สามารถถูกแยกได้เป็น 4 ส่วนหลัก คือ

1) Sensors ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ตรวจจับต่างๆเช่น อุณหภูมิ ความเคลื่อนไหว ความสว่าง กล้องวีดีโอ รวมทั้งอุปกรณ์ชนิดอื่นๆ
2) Actuators คืออุปกรณ์ที่ปฏิบัติตัวต่อสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น สวิทช์เปิด/ปิดไฟฟ้า อุปกรณ์ควบคุมระดับความสว่างหลอดไฟ (Dimmer) มอเตอร์ควบคุมระบบม่าน และอื่นๆ
3) Control center คือระบบคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการรับรู้สภาพแวดล้อม ประมวลผลสถานะการและ ส่งสันญาญควบคุม Actuators ต่างๆ
4) Controlling devices อุปกรณ์ควบคุมระบบไม่ได้ถูกจำกัดเพียงแค่แผงควบคุมหรือรีโมทคอนโทรลเท่านั้น ชุดควบคุมสามารถอยู่ในรูปของ โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์พกพา (tablets e.g. iPad, Galaxy tab) เวปเบราเซอร์ (web browsers) และระบบ SMS
ตัวอาคารสามารถถูกโปรแกรมให้ตอบสองต่อระบบภายนอกทั้งในรูปแบบของ profile และ real-time interactive (หรือ event based)
ตัวอย่างระบบที่ใช้ profile เช่น
1) เมื่อผู้ใช้สร้าง profile สำหรับการ ประชุมในสำนักงาน หลอดไฟในห้องอื่นๆนอกจากห้องประชุมจะถูกดับลง อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ยังสามารถที่จะเดินไปเปิด/ปิด สวิทซ์ที่ผนังห้องได้เองโดยที่ไม่ต้องกดจากแผงควบคุม
2) profile รับประทานอาหารเย็น เมื่อสั่งงานใช้ profile นี้ (ซึ่งอาจสามารถสั่งงานได้ด้วยเสียงผ่าน control device) ระบบไฟในห้องอาหารจะถูกหรี่ลงในระดับที่ตั้งไว้ (predefined dimmer) และเปิดไฟในสีต่างๆที่อยู่ในโปรแกรม ตัว control center สามารถสั่งระบบ media center ในที่พักให้เล่นเพลงจาก internet radio ที่โปรแกรมไว้ และเปิดม่านหน้าต่างออก
3) profile สำหรับการดูภาพยนตร์ สามารถออกคำสั่งให้ไฟทุกดวงนอกเหนือจากห้องนั่งเล่นดับลง
และในรูปแบบการควบคุม real-time interactive นั้นหมายถึง ส่วน control center นั้นได้รับรู้สภาวะแวดล้อมจาก sensors และสั่งงาน actuators ยกตัวอย่างเช่น
1) เมื่อมีแสงแดดส่องเข้ามาในห้องและสร้างความร้อนได้ในระดับที่ตั้งไว้ ระบบจะสั่งงานปิดม่านโดยอัตโนมัติ
2) ระบบสั่งการเปิดเครื่องปรับอากาศ เมื่อทราบว่าเจ้าของบ้านกำลังเดินทางมาถึงบ้าน โดยรับคำสั่งจาก mobile application โดยตรงจากเจ้าของบ้าน หรือ ใช้การตรวจจับว่ามีรถเข้ามาจอดที่โรงจอดรถ เป็นต้น
3) ถ้าหากระบบ control center ทำงานบนระบบคอมพิวเตอร์ทั่วไป (windows หรือ linux) จะสามารถเพิ่มส่วนของกล้องเวปแคม (web camera) เข้าในระบบได้ไม่ยาก ซึ่งจะทำให้เพิ่มความสามารถในด้านของการรักษาความปลอดภัยเข้าไปได้อีก
สิ่งที่มากับระบบ home automation อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็คือระบบ wireless network ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้สามารถใช้ Internet ได้ทุกจุดในบ้าน และรวมเป็นส่วนหนึ่งของบ้านอัจฉริยะ ยกตัวอย่างเช่น สามารถใช้ Notebook, tablet, หรือมือถือ ที่อยู่ในมือเพื่อควบคุมสิ่งต่างๆ ภายในบ้านได้ (ด้วยการส่งคำสั่งต่างๆผ่าน internet เข้าไปยัง server ที่ควบคุมอุปกรณ์ต่างๆในบ้าน แล้วส่งคำสั่งไปยังอุปกรณ์ให้ปฎิบัติตามคำสั่งนั้นๆ
ฟังดูแล้ว หลายๆคนอาจรู้สึกว่า ไกลตัวจังเลย แต่จริงๆแล้ว ในต่างประเทศ เรื่องการทำบ้านให้เป็นบ้านอัจฉริยะ หรือ สำนักงานอัจฉริยะ เป็นเรื่องที่มีมานานแล้ว และทำเองได้ง่ายๆ อุปกรณ์ก็มีขายทั่วไปตามห้างสรรพสินค้าที่ขายอุปกรณ์เกี่ยวกับบ้าน สำหรับราคาก็เริ่มต้นได้ตั้งแต่ประมาณ 1000 บาท และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ขึ้นอยู่กับความต้องการว่าจะต้องการใช้อุปกรณ์มากน้อยแค่ไหน และความซับซ้อนของระบบ

ในประเทศไทยเองก็มีบ้านหรือสำนักงานจำนวนมาก ที่เป็นบ้านหรือสำนักงานอัจฉริยะ  ซึ่งระดับความอัจฉริยะ ก็มีตั้งแต่มากไปหาน้อย อย่างเช่นโรงแรม Aloft  สุขุมวิท 11  ในกรุงเทพนี่เอง มีการนำเอาเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว และไม่ได้หายากอะไร มาทำให้ห้องพักกลายเป็นห้องอัจฉริยะ ที่สามารถควบคุมทุกอย่างได้ ด้วยโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน เพื่ออำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่รักความทันสมัยและอินเทรนด์ อีกทั้งเป็นการดึงดูดลูกค้าให้มาใช้บริการเพิ่มขึ้นด้วย
ความอัจฉริยะของห้องพักที่เรียกว่า touch room ของโรงแรมแห่งนี้ จัดเป็นในลักษณะที่ยังต้องใช้คนเป็นผู้ควบคุมอยู่ ยังไม่ถึงกับสามารถตัดสินใจเองเพื่อดำเนิน action ต่างๆอย่างอัตโนมัติ แต่เป็นการรวมการออกคำสั่งทุกอย่างไว้ในโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนเครื่องเดียว ด้วยคอนเซปที่ว่า แขกที่เข้ามาพัก จะได้พกพาโทรศัพท์มือถือ smart phone เครื่องนี้เครื่องเดียวเพื่อทำได้ทุกอย่าง ทั้งการโทร การใช้ควบคุมห้องพัก การขอความช่วยเหลือ การเข้าถึง internet การถ่ายรูป และอื่นๆอีกมากมาย
เริ่มตั้งแต่ การเปิดประตูห้องพัก บริษัท Fingi ผู้ที่ออกแบบระบบนี้ ก็ได้ใช้วิธีเพิ่ม RFID เข้าไปที่โทรศัพท์มือถือเพื่อใช้สำหรับแทนกุญแจห้องได้เลย….เพียงนำโทรศัพท์มือถือไปจ่อตรงบริเวณเครื่องอ่าน ก็สามารถเปิดประตูได้แล้ว ….พอเข้าไปในห้อง ทุกอย่าง ก็สามารถควบคุมได้ด้วยโทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวกับที่ใช้แทนกุญแจ ไม่ว่าจะเปิด-ปิดไฟ, เปิด -ปิด ม่าน, ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ปรับอุณหภูมิ ปรับระดับพัดลม เปิด-ปิด, ควบคุมทีวี และยังมี apple TV ให้บริการอีกด้วย ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบ 2  ทาง ซึ่งหมายความว่าไม่ว่าจะปรับอะไรที่มือถือ ตัวควบคุมของอุปรกรณ์นั้นๆก็จะเปลี่ยนตาม และในทางกลับกัน หากเราควบคุมที่ตัวอุปกรณ์ ข้อมูลในมือถือเราก็จะเปลี่ยนตามเช่นกัน
และที่มีประโยชน์มากๆก็คือ เมื่อแขกในห้องพักออกไปข้างนอก แต่ลืมปิดไฟ ปิดแอร์ หรือปิดทีวี ก็สั่งเปิด ปิด หรือควบคุมจากภายนอกได้ด้วยมือถือเครื่องเดียวกันนี้แม้ว่าจะอยู่ในระหว่างกำลังท่องเที่ยวอยู่ในที่ต่างๆนอกโรงแรม ผ่านทาง internet นั่นเอง หรือหากใกล้ๆจะกลับเข้ามาถึงห้องแล้ว จะสั่งให้เปิดแอร์ไว้ก่อนล่วงหน้า ผ่านทางโทรศัพท์มือถือเครื่องดังกล่าวนี้ได้เช่นกัน
สาเหตุที่ทำได้แบบนี้ ก็เพราะว่ามือถือเครื่องนี้ จะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านทาง edge, 3G หรือ wi-fi และส่งสัญญาณคำสั่งต่างๆ เข้ามาที่ server ของโรงแรม และเครื่อง server นี้ก็จะส่งคำสั่งไปยังกล่องควบคุมที่เชื่อมต่อกับอุปรกรณ์ต่างๆด้วยสายไฟฟ้า และจะทำหน้าที่ออกคำสั่งให้อุปกรณ์ต่างๆ ทำตามคำสั่งที่ได้รับ เช่น เปิด ปิด ไฟ นั่นเอง ซึ่งหลักการนี้ ก็ถือเป็นแบบหนึ่งในการทำ smart room, smart home, smart office ในที่อื่นๆด้วย